ตามประกาศสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ลงวันที่ 1 กันยายน 2551 สถาบันจัดตั้งกองงานผู้บริหาร สำนักงานอธิการบดี โดยการรวมงานสนับสนุนซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานใด คือ งานวินัยและนิติการ ฝ่ายกิจการนักศึกษาและสวัสดิการ สำนักงานนิด้าสัมพันธ์ สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ และได้โอนงานประชาสัมพันธ์ งานเลขานุการผู้บริหาร ซึ่งเดิมสังกัดกองกลาง มาสังกัดกลุ่มงานใหม่ คือ กลุ่มงานนโยบายสถาบันและพัฒนาองค์การ อยู่ภายใต้กองงานผู้บริหาร
ต่อมาสถาบันมีนโยบายให้ปรับเปลี่ยนการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานอธิการบดี เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และให้เกิดความคล่องตัว จึงได้ปรับโครงสร้างกองงานผู้บริหาร โดยแบ่งส่วนราชการภายใน (ในทางปฏิบัติ) เป็น 7 กลุ่มงาน คือ
1) กลุ่มงานนโยบายสถาบันและพัฒนาองค์การ
2) กลุ่มงานเลขานุการผู้บริหาร
3) กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
4) กลุ่มงานกิจการนักศึกษา
5) กลุ่มงานนิด้าสัมพันธ์
6) กลุ่มงานกิจการนานาชาติ
7) กลุ่มงานวินัยและนิติการ
เมื่อได้ปฏิบัติงานตามโครงสร้างดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่งแล้ว พบว่าการบริหารงานมีความชัดเจน และคล่องตัว ต่อมาเมื่อสถาบันมีนโยบายและภารกิจเพิ่มขึ้น คือ บทบาทภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) และการพัฒนาเครือข่ายกับองค์การภายนอก จึงปรับโครงสร้างกองงานผู้บริหารอีกครั้งหนึ่ง ตามภารกิจที่ขยายมากขึ้น และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ตามประกาศสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 แบ่งส่วนราชการของกองงานผู้บริหารเป็น 6 กลุ่มงาน คือ
1) กลุ่มงานนโยบายสถาบันและพัฒนาองค์การ
2) กลุ่มงานสื่อสารองค์การและกิจกรรมเพื่อสังคม
3) กลุ่มงานกิจการนักศึกษา
4) กลุ่มงานกิจการนานาชาติ
5) กลุ่มงานประชุมและสัมมนาสากล
6) กลุ่มงานวินัยและนิติการ
การขยายภารกิจของกองงานผู้บริหาร
บทบาทการดำเนินงานของกองงานผู้บริหาร ในภารกิจที่แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มงาน มีความชัดเจนและเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ต่อมาผู้บริหารสถาบันพิจารณาแล้วเห็นว่าภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการการถ่ายทอดและเผยแพร่นโยบายของผู้บริหารสถาบันลงสู่หน่วยงานปฏิบัติ โดยผ่านการประชุม การสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ตลอดจนภารกิจการกำกับ ติดตามการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาวิชาการ
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องปรับโครงสร้างภาระงานบางกลุ่มงาน เพิ่มกลุ่มงาน และยุบกลุ่มงาน เพื่อรองรับการขยายภารกิจที่กองงานผู้บริหารได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 งานการประชุมคณบดี/ผู้อำนวยการสำนัก
2.2 งานการประชุมคณบดี/ผู้อำนวยการสำนัก ด้านการบริหาร
2.4 งานการประชุมผู้บริหารฝ่ายอำนวยการ
2.5 งานกำกับ ติดตามการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาวิชาการ
ทั้งนี้จากภาระงานดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าภาระงานที่ 2.1-2.4 เป็นภาระงานด้านการถ่ายทอดนโยบายของผู้บริหารลงสู่หน่วยงานปฏิบัติในระดับต่าง ๆ ตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ตลอดจนติดตามการดำเนินการตามนโยบายของผู้บริหารสถาบันในภาพรวม และในรายละเอียดด้านการบริหาร การวิจัยและการบริการวิชาการ สำหรับภาระงานที่ 2.5 เป็นภาระงานด้านการกำกับ ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาวิชาการ
การปรับโครงสร้างเพื่อให้สามารถรองรับภาระงานที่เพิ่มขึ้น และปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผล ดำเนินการโดยสรุป ดังนี้
- งานการประชุมคณบดี/ผู้อำนวยการสำนัก งานการประชุมคณบดี/ผู้อำนวยการสำนัก ด้านการบริหาร และงานการประชุมผู้บริหารฝ่ายอำนวยการ รวมเข้ากับกลุ่มงานประชุมและสัมมนาสากล และกลุ่มงานนโยบายสถาบันและพัฒนาองค์การ เปลี่ยนชื่อกลุ่มงานใหม่เป็น กลุ่มงานนโยบายสถาบันและการประชุม
- งานการประชุมคณบดี/ผู้อำนวยการสำนัก การวิจัยและการบริการวิชาการ และงานกำกับ ติดตามการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาวิชาการ รับผิดชอบภารกิจด้านการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการตามนโยบายด้านการวิจัย การบริการวิชาการ ตลอดจนการดำเนินการของศูนย์พัฒนาวิชาการ เพื่อให้สถาบันสามารถสร้างให้งานวิจัย และการบริการวิชาการเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นจุดขายของสถาบันได้ ตั้งขึ้นเป็นกลุ่มงานใหม่ภายใต้กองงานผู้บริหาร ใช้ชื่อว่า กลุ่มงานติดตามการดำเนินงานศูนย์พัฒนาวิชาการ
มุ่งอำนวยบริการผู้บริหาร ประสานความร่วมมือ สื่อสารสร้างสรรค์ แบ่งปันสังคม บ่มเพาะนักศึกษา เพื่อพัฒนานิด้าสู่สากล
1. อำนวยบริการให้คณะผู้บริหารสถาบัน และจัดการประชุมเพื่อสนองนโยบายสถาบัน และบริหารจัดการงานด้านเลขานุการผู้บริหารสถาบัน เพื่อให้งานของผู้บริหารบรรลุเป้าหมาย
2. ประสานงานและจัดการประชุม ทคอ.การวิจัยและบริการวิชาการ ตลอดจนกำกับติดตามการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาวิชาการ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ทั้งทางด้านวิชาการ นันทนาการ กีฬา บำเพ็ญประโยชน์ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมและให้บริการด้านสุขภาพ
4. สนับสนุน ประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายด้านการจัดการศึกษา การวิจัย การพัฒนาระดับบัณฑิตศึกษา และกิจกรรมทางการศึกษาต่างๆ ในระดับภูมิภาคและนานาชาติ
5. สร้างความเชื่อมั่นในความเป็นกลางและโปร่งใสในการดำเนินการทางวินัยและนิติการ รวมทั้งให้ความเห็นข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขด้านกฎหมายต่างๆ ด้วยความถูกต้อง และการคุ้มครองและรักษาสิทธิของผู้เกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย
6. พัฒนาการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนทุกประเภทและสื่อเทคโนโลยี เพื่อให้ประชาชน ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารกิจกรรมสถาบันอย่างต่อเนื่องและทันเหตุการณ์ อันจะส่งผลให้ประชาชนเชื่อมั่นในการให้บริการด้านการวิจัย การศึกษา และทางวิชาการ ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
7. จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน